ทางรถไฟสายมรณะ

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "ทางรถไฟสายมรณะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภราดรภาพและเคารพความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนเคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง

week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7: นักเรียนสามารถสร้างสารคดีตามร่องรอยประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายมรณะได้สร้างสรรค์
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
7

23 - 27
ก.พ.
2558
โจทย์ :
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปทัศนศึกษา
- สร้างสื่อสารคดี
Key  Questions :
- ความรู้สึกและสิ่งที่ได้จากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้?
- สิ่งที่ได้จะสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง?
- จากสิ่งที่เราได้จากการเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ เราจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นด้วยวิธีใดได้บ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการไปทัศนศึกษาที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมา
- Brainstorms  แสดงความคิดร่วมกันในการวางแผนตัดต่อคลิปวีดีโอ
- Wall Thinking  ชิ้นงาน
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คอมพิวเตอร์ (Computer)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนช่วยกันทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา และทบทวนการไปทัศนศึกษาที่ผ่านมา แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อไปนี้
- ความรู้สึกและสิ่งที่ได้จากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้?
- สิ่งที่ได้จะสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผ่านเครื่องมือ (Round Rubin)  
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปทัศนศึกษา ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย  เช่น   Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
อังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “จากสิ่งที่เราได้จากการเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ เราจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นด้วยวิธีใด?เชื่อม :
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นในการที่จำทำสื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (แบ่งกลุ่มก่อนเดินทางแล้ว) ระดมความคิด พูดคุย วางแผนก่อนการตัดต่อสารคดีเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ถ่ายทำมาแล้ว
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการในการตัดต่อสารคดีของแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนร่วมกันตัดต่อวีดีโอสารคดีของกลุ่มตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์
พุธ ( 1 ชั่วโมง )
ใช้ :
นักเรียนร่วมกันตัดต่อวีดีโอสารคดีของกลุ่มตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์ (ต่อ)
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้ :
นักเรียนร่วมกันตัดต่อวีดีโอสารคดีของกลุ่มตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนให้เพื่อนในชั้นเรียนได้ชมผลงานของกลุ่มตนเอง และเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนชมสารคดีของแต่ละกลุ่ม และร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


ภาระงาน
- การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการไปทัศนศึกษาที่ผ่านมา รวมทั้งการนำมาปรับใช้ในชีวิต ประจำวัน
- การรวมมือกันภายในกลุ่มเพื่อทำสื่อสารคดี
ชิ้นงาน
- สื่อสารคดี
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปทัศน-ศึกษาผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
ความรู้
นักเรียนสามารถสร้างสารคดีตามร่องรอยประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายมรณะได้สร้างสรรค์
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบและทำผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ICT
ทักษะการคิด
- สามารถเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการไป                 ทัศนศึกษาผ่านการทำสารคดีได้
- คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลและลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟที่ได้จากการไปทัศนศึกษาได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น อย่างไม่มีอคติ เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น ตั้งใจชมสารคดี
- สามารถคิดจินตนาการเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นจากการไปทัศนศึกษาสู่การทำสื่อ เช่น สื่อสารคดี
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 มีนาคม 2558 เวลา 11:21

    บันทึกหลังการสอน
    หลังจากกลับมาจากการไปทัศนศึกษาที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งในการไปนี้นักเรียนแต่ละกลุ่มก็จะได้รับโจทย์ไปในครั้งนี้ กลุ่มที่ 1 คลิปการสัมภาษณ์ (บุคคลต่างๆ เช่น แม่ค้า นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ นายสถานี เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ) กลุ่มที่ 2 ภาพนิ่ง (การทำประมวลภาพบรรยากาศทั้งหมด) กลุ่มที่ 3 คลิปแนวสารคดี หลังจากกลับมาในวันจันทร์แต่ละกลุ่มก็เอางานที่ตนเองถ่ายทำมาดำเนินการต่อ แต่ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ 2 (หญิงคละชาย) ไม่ได้เอากล้องมาด้วย กลุ่มที่ 1 (ชายล้วน) ไม่ได้ทำการสัมภาษณ์ (ที่สัมภาษณ์มีเพียง1คน แต่คลิปมีปัญหา) กลุ่มที่ 3 (หญิงล้วน) เตรียมอุปกรณ์มาพร้อม ครูจึงต้องให้กลุ่มที่ 2 เอากล้องมาด้วยในชั่วโมงหน้า แล้วกลุ่มที่ 1 ให้ไปถ่ายคลิปการสัมภาษณ์ความรู้สึกเพื่อนๆในห้องแทน
    ในการถ่ายคลิปการสัมภาษณ์ของกลุ่มที่ 1 ครั้งแรกครูไปช่วยในการคิดคำถามฝการถ่ายทำ แต่ด้วยกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยผู้ชาย จึงติดเล่นจึงไม่สำเร็จ ครั้งที่ 2 ให้ไปถ่ายทำเองด้วยกล้องของนักเรียนเอง ครั้งนี้ครูไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ผลที่ออกมาคือ คลิปที่ได้มามีเสียงแทรก ระหว่างที่เพื่อนพูด ก็เล่น โยนใบไม้เข้ามาในฉาก กล้องตกหล่นจึงทำให้คลิปที่ได้เล่นไปสดุดไป ครั้งที่ 3 ครูเข้าไปช่วยอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ด้วยเวลาที่จำกัด (ใกล้ถึงวันศุกร์ และต้องใช้เวลาในการตัดต่อ) ถึงแม้จะมีการเล่นกันบ้าง แต่ครูก็ให้คนที่จะพูดแยกตัวออกมาจากลุ่มเพื่อนในระยะที่ไม่มีเสียงรบกวน แล้วถ้าใครยังไม่ถึงคิวของตนก็ให้นั่งรอในระยะที่ห่างออกไป

    ตอบลบ