ทางรถไฟสายมรณะ

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "ทางรถไฟสายมรณะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภราดรภาพและเคารพความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนเคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง

week5


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 5: นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะอย่างมีวิจารณญาณ
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
5

9 - 13
ก.พ.
2558
โจทย์ :การสร้างทางรถไฟสายมรณะ
Key  Questions :
- เส้นทางรถไฟสายมรณะมีที่มาอย่างไร?
- หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิตคืออะไร?
- เส้นทางรถไฟสายมรณะส่งผลอย่างไรต่อตัวเราและสังคมในปัจจุบันอย่างไร
?
- นักเรียนคิดว่าข้อมูลการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะที่นักเรียนได้รับเป็นข้อมูลเท็จ/จริงหรือไม่ อย่างไร
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในการสร้างละครประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ
- Wall  Thinking  เค้าโครงละครประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ                                                                - Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)    
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ภาพยนตร์เรื่อง The Railway Man
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ชมภาพยนตร์เรื่อง The Railway Man
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ดู แล้วครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “เส้นทางรถไฟสายมรณะมีที่มาอย่างไร?
อังคาร (2 ชั่วโมง )
เชื่อม :
นักเรียนค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเท็จจริงจากข้อมูลในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะอย่างมีวิจารณญาณ
ใช้
:
นักเรียนสรุปข้อมูลที่เสร็จสมบูรณ์ลงในสมุดของตนเอง

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนบทละครที่ตนเองได้รับร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิตคือ อะไร?
 เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของ “หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิต”
ใช้
:

นักเรียนสรุปข้อมูลลงในสมุดของตนเอง

พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนบทละครที่ตนเองได้รับร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม เส้นทางรถไฟสายมรณะส่งผลอย่างไรต่อตัวเราและสังคมในปัจจุบันอย่างไร?
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ
ใช้
:
นักเรียนสรุปข้อมูลลงในสมุดของตนเอง
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าข้อมูลการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะที่นักเรียนได้รับเป็นข้อมูลเท็จ/จริงหรือไม่ อย่างไร? และ
 “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม:                                                                                 นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อมูลของการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะที่ได้รับมาเป็นข้อมูลเท็จ/จริงหรือไม่ อย่างไร และสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้
ใช้
:                                                                             
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางสายมรณะ ในรูปแบบของการ์ตูนช่อง                                            
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

 ภาระงาน
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟสายมรณะส่งผลอย่างไรต่อตัวเราและสังคมในปัจจุบันอย่างไร ?
ชิ้นงาน
- สรุปการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ
- การ์ตูนช่องเรื่องราวทางรถไฟสายมรณะ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- สามารถจัดหมวดหมู่ของเหตุการณ์ที่สำคัญในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะได้
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลและลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะอย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน :
    การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้ จะเป็นเนื้อหาและกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางรถไฟสายมรณะ ที่เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปัญหาที่พบในสัปดาห์นี้ เนื่องจากความเร็ว/แรงของสัญญาร wifi ค่อนข้างมีปัญหา ด้วยในเวลาเดียวกัน พี่ป.5 ก็จำเป็นที่จะต้องใช้สัญญานในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ ในการค้นคว้าข้อมูลของพี่ ป.4 จึงเป็นไปอย่างลำบาก เพราะสัญญานช้า (บางเครื่องก์ไม่มีสัญญาน) ครูจึงแก้ปัญหาด้วยการให้นักเรียนได้ค้นหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น หนังสือในห้องสมุด ในการค้นคว้าหาข้อมูล
    ในการควบคุมสถานการณ์ในชั้น ลำพังตัวผมคนเดียวคงไม่สามารถที่จะกระทำได้สำเร็จลุล่วง จึงจำเป็นที่จะต้องมีครูพี่มาช่วยในการควบคุมบรรยากาศในห้องเรียน ให้เป็นไปอย่างราบรื่น

    ตอบลบ