ทางรถไฟสายมรณะ

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "ทางรถไฟสายมรณะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภราดรภาพและเคารพความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนเคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง

week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 2: สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอน
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
2

19-23
..
2558
โจทย์ :
กระบวนการออกแบบและวางแผนการเรียนรู้
Key  Question :
 นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้หน่วยใน Quarter ที่ 4 อย่างไรให้เกิดการเรียนรู้?
Blackboard  Share : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวภาพยนตร์เรื่อง The Railway Man
Round Rubin : ระดมความคิดเห็นทำปฏิทินการเรียนรู้ประจำ Quarter ที่ 4
Mind  Mapping : ก่อนการเรียนรู้
Wall  Thinking : ปฏิทินการเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- ตัวอย่างภาพยนตร์The Railway Man




                                  จันทร์                                         
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกันเกี่ยวกับหน่วย ทางรถไฟสายมรณะ”                       
- ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างภาพยนตร์The Railway Man
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ดูโดยผ่านเครื่องมือคิด(Round Rubin)
ใช้
นักเรียนเขียนความรู้สึกที่กระทบต่อจิตใจจากการดูภาพยนตร์ตัวอย่าง The Railway Manลงในสมุด
                                   อังคาร                                           
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนรู้และเข้าใจอะไรเกี่ยวกับทางรถไฟสายมรณะ?
เชื่อม
นักเรียนระดมสมองแสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard  Share)
ใช้
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย
ทางรถไฟสายมรณะ.”       
                             พุธ - พฤหัสบดี                                 
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้หน่วยใน Quarter ที่ 4 อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เชื่อม
นักเรียนทุกคนระดมความคิดและลงมือทำปฏิทินการเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย
ทางรถไฟสายมรณะประจำ Quarter ที่ 4
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ของตนเอง
ในรูปแบบ Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
                                   ศุกร์                                           
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม "หลักฐานทางประวัติให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือเท็จ/เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น?"
เชื่อม
นักเรียนเขียนแสดงความคิดของตนเองเห็นผ่านเครื่องมือคิด (ชักเย่อความคิด)

ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้
- นักเรียนทุกคน Show and Share นำเสนอชิ้นงาน Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ของตนเองให้ครูและเพื่อนๆฟัง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ชิ้นงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ ประจำ Quarter ที่ 2
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
 ภาระงาน
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสิ่งที่ได้ดูและร่วมออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้หน่วย ทางรถไฟสายมรณะ




ความรู้ :
สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอนทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- สามารถจัดหมวดหมู่ของหัวข้อสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ในการออกแบบวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้ได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- คิดจินตนาการเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้
พบเห็นสู่การเรียนวิชาโครงงาน  เช่น  เขียน
สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิงได้
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่สองนี้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกันโดยการขมวดเรื่องที่จะเรียนรู้จากคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ ครูให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบและวางแผนปฏิทินเป็นรายบุคคล ซึ่งทุกคนก็พบเจอปัญาและอุประสรรคระหว่างที่ทำแตกต่างกันออกไปเช่น บางคนคิดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นไม่ออกต้องแก้ไขปัญหาโดยการคิดเป็นกลุ่มช่วยต่อเติมกันและกัน บางคนคิดคำถามไม่ออกไม่รู้จะต้องคำถามแบบไหนให้ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ในแตละสัปดาห์ได้ครบทวน เลยต้องแก้ไขปัญหาตรวจเช็คคำถามที่เพื่อนๆตั้งไว้สำหรับสิ่งที่อยากเรียนรู้ว่าเข้ากับสัปดาห์ไหนครูเห็นความเป็นทีมเพิ่มขึ้นเมื่อทุกคนเจอปัญหาที่คล้ายกันจะมาร่วมกลุ่มกัน ใช้เวลาในการทำสองวันคือวันจันทร์และวันอังคารจริงแล้วเสร็จ วันพุธทุกคนได้วางแผนเป็นรายบุคคลแล้วก็ง่ายที่จะมาช่วยกันออกแบบและวางแผนปฏิทินของห้องร่วมกัน ครูให้นักเรียนเลือเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ จากนั้นจึงแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างชิ้นงานเป็นปฏิทินของห้อง ใช้เวลาทำถึงสองวันคือวันพุธออกแบบและวางแผนร่างปฏิทิน แล้ววันพฤหัสบดีมาช่วยกันตกแต่งระบายสีต่อเติม ส่วนในวันศุกร์เพื่อกระตุ้นให้อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสัปดาห์ต่อไป ครูจึงให้การบ้านนักเรียนไปสอบทางผู้รูหรือค้นหา เกี่ยวกับหลักฐานทางประศาสตร์ที่รู้จัก เพื่อมาทำกิจกรรมต่อในวันศุกร์ นักเรียนได้แลกเปลี่ยนและขมวดความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (Place Mat) แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนร่วมกัน จากนั้นครูกระตุ้นด้วนคำถามต่อ "หลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ/เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น?" ซึ่งก็เห็นความคิดที่หลากหลายทั้งชายและหญิง มีทั้งเป็นจริง เป็นเท็จ และกลาง

    ตอบลบ