เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3: เข้าใจและสามารถแยกแยะ
จัดหมวดหมู่ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นได้อย่างมีวิจารณญาณ
Week
|
Input
|
Process (PBL)
|
Output
|
Outcome
|
3
26 – 30
ม.ค. 2558
|
โจทย์ : หลักฐานทางประวัติศาสตร์
Key Questions :
-
นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี และรู้สึกอย่างไร?
- สิ่งต่างๆ รอบตัวนักเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
/ เพราะเหตุใด?
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบอย่างไร?
- นักเรียนเห็นอะไรจากบุหีบบ้าง/เพราะเหตุใดจึงมีสิ่งนี้?
- หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนได้สำรวจพบ
มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่นและตัวเราอย่างไร?
เครื่องมือคิด:
Round Robin : แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นของสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี
และออกแบบวางแผนการเดินทางไปสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบบริเวณบุหีบ
Mind Mapping :
การค้นหาข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ผ่านอินเตอร์เน็ตและแหล่งข้อมูลอื่น
Wall Thinking : ชิ้นงาน
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/ กระตุ้นการคิด)
-
นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้) - ผู้รู้เกี่ยวกับประวัติของป่าโคกหีบ - ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากหลากหลายแหล่งข้อมูล |
จันทร์( 2 ชั่วโมง )
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ดูคลิปเรื่อง “การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ
การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีและรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
“การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี”โดยผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “สิ่งต่าง ๆ รอบตัวนักเรียนหรืออยู่ในชุมชนมีอะไรบ้างที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
เพราะเหตุใด?”
เชื่อม
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันและตอบคำถาม“สิ่งต่าง
ๆ รอบตัวเราหรืออยู่ในชุมชนของเรามีอะไรบ้างที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
เพราะเหตุใด?”โดยผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
- นักเรียนร่วมกันเลือกแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สามารถไปศึกษาได้ง่ายที่สุด (ป่าโคกหีบ)
-
ครูแบบกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มเพื่อค้นหาข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ
เช่นหนังสือ อินเตอร์เน็ต หรือผู้รู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอย่างมีวิจารณญาณ ใช้
นักเรียนนำข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์และสังเคราะห์มาสรุปเป็นความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานในรูปแบบของ
Mind Mapping
อังคาร( 2 ชั่วโมง )
ชง
ครูทบทวนกิจกรรมของชั่วโมงที่ผ่านมา
แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบอย่างไร?”
เชื่อม
-
นักเรียนแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบและวางแผนไปสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบ
บริเวณบุหีบ โดยผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
-
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 4-5 คน
เพื่อให้ระดมความคิดในการออกแบบและวางแผนก่อนการออกสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบ
บริเวณบุหีบ
ใช้ นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบและวางแผนการออกไปสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบ บริเวณบุหีบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
วันพุธ – วันพฤหัสบดี ( 3 ชั่วโมง )
ชง
-
ครูทบทวนและข้อตกลงร่วมกันในการเดินทางไปสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบ
บริเวณบุหีบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
- ครู ผู้ปกครอง
และนักเรียนร่วมกันออกเดินทางไปป่าโคกหีบสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์บริเวณบุหีบเมื่อถึงที่หมาย
ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนเห็นอะไรจากบริเวณบุหีบบ้าง/เพราะเหตุใดจึงมีสิ่งนี้?”
ใช้
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกย้ายสังเกตเพื่อหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้วจดบันทึกลงในสมุดบันทึกการสำรวจ
-
จากนั้นนักเรียนนำข้อมูล ภาพถ่ายหลักฐานที่พบ มาสรุปลงในชาร์ตความเข้าใจ
ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์แยกแยะและจัดหมวดหมู่ของหลักฐานที่กลุ่มตนเองได้มา
พร้อมวาดภาพ (ทำต่อในวันพฤหัสบดีอีก 1 ชั่วโมง)
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถามในการนำเสนอ
“หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนได้สำรวจพบ มีความ สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่นและตัวนักเรียนอย่างไร?”
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอแลกเปลี่ยนร่วมกันและเชื่อมโยงกับการตอบคำถาม “หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนได้สำรวจพบ
มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่นและตัวนักเรียนอย่างไร?” โดยผ่านเครื่องมือคิด
(Show and Share)
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 ในประเด็นของสิ่งที่ได้เรียนรู้มา, ปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ, วิธีแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น, จะนำสิ่งที่เรียนรู้มาไปใช้ต่อหรือพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไร ผ่านชิ้นงาน การเขียนบรรยาย |
ชิ้นงาน
- Mind Mapping หลักฐานทางประวัติศาสตร์
- ชาร์ตสรุปความเข้าใจการไปสำรวจป่าโคกหีบ
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
เกี่ยวกับคลิปวีดีโอ“การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี”
- สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถแยกแยะ จัดหมวดหมู่ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานในรูปแบบของ Mind Mapping เสร็จเรียบร้อยได้อย่างสมบูรณ์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการเดินสำรวจป่าโคกหีบได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- ออกแบบและวางแผนการเดินทางไปสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบได้ - สามารถจัดหมวดหมู่ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในป่าโคกหีบได้ - สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสำรวจป่าโคกหีบได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเช่น การไม่พูดแทรก
ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในป่าโคกหีบ
- คิดจินตนาการเชื่อมโยงและแยกแยะข้อมูลจากสิ่งที่ได้พบเห็นในป่าโคกหีบและข้อมูลที่หามาได้
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตาม เป้าหมายในการสรุปความเข้าใจผ่านชาร์ต
- มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปันเวลาเดินสำรวจป่าโคกหีบ
-
รู้เวลาและหน้าที่ของตนเวลาเดินสำรวจป่าโคกหีบ |
/
บันทึกหลังการสอน ;
ตอบลบตอนทั้งสัปดาห์ที่ 3 จะเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางด้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และลงพื้นที่สำรวจแหล่งโบราณสถานป่าโคกหีบ ก่อนที่จะมีการลงพื้นที่ศึกษานั้น นักเรียนก็ได้เตรียมตัวศึกษาค้นคว้าข้อมูล ชมวีดีโอการขุดค้น/สำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ถ้าเป็นงานกลุ่ม นักเรียนจะเลือกที่อยากจะอยู่กลุ่มเดียวกันกับเพื่อนคนสนิท แต่ถ้าได้เข้ากลุ่มกับคนที่ตนเองไม่ชอบ/ไม่สนิทก็จะมีท่าทีที่ไม่พอใจ แต่ก็เป็นเพียงความรู้สึกเพียงชั่วขณะเท่านั้น ซึ่งในการร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงามก็มีการร่วมมือเพื่ออยากให้งานของกลุ่มตนออกมาให้เสร็จสมบูรณ์ แต่จะมีเพียงบางกลุ่ม(บางคู่)ที่มีงานค้าง เพราะคนหนึ่งทำ คนหนึ่งเล่น สุดท้ายผลงานที่ออกมาก็ส่งล่าช้า ครูเองก็พยายามแนะ/ชี้แจง ให้นักเรียนได้ช่วยเพื่อนในการทำงาน เพื่อนคนที่ทำงานเร็วก็จะได้ช่วยเพื่อนคนที่ทำงานล่าช้า เพื่อนช่วยเพื่อน
ในการเดินทางไปสำรวจแหล่งโบราณสถานป่าโคกหีบ ปัญหาที่พบก่อนการเดินทาง มีนักเรียนชายคนหนึ่ง ช่วยที่จะออกมาตั้งแถวหน้าอาคารประถม ด้วยความรีบเร่งทำให้วิ่งไปเตะเข้ากับผนังจนทำให้นิ้วหัวแม่เท้าบวม ปวด ไม่สามารถเดินทางไปสำรวจกับกลุ่มเพื่อนได้ ครูเลยให้นั่งรอเพื่อนอยู่ที่ห้องเรียน ช่วงการเดินทางในการสำรวจนั้น กลุ่มที่เดินเร็วก็จะมุ่งหน้าไปก่อน ส่วนกลุ่มที่เดินช้า(ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพี่ผู้ชาย) ก็จะทั้งเดินไปเล่นไป จึงทำให้เดินตามกันไม่ทัน ครูก็พยายามที่กระตุ้นให้เขาก้าวยาวๆ เพื่อนจะให้ทันเพื่อน เพื่อที่ครูจะได้ดูแลได้ทั่วถึง