ทางรถไฟสายมรณะ

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "ทางรถไฟสายมรณะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภราดรภาพและเคารพความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนเคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง

week1




แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL ( Problem Based  Learning )
                                                          หน่วย  : ทางรถไฟสายมรณะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 Quarter 4  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557
เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิงเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเอง และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
1

12–16
..
2558
โจทย์ :
- เรื่องที่อยากเรียนรู้ /สร้างฉันทะ
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ
Key  Questions :
- นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ และรู้สึกอย่างไร?
- ทำไมหนึ่งไม้หมอนต้องหนึ่งชีวิต
?
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใด?
- สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆอย่างไรบ้าง?
Blackboard  Share : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
Think  Pair Share : ตั้งชื่อหน่วยใน Quarter ที่ 4
Show and Share :นำเสนอชิ้นงานสรุป
การเรียนรู้รายสัปดาห์
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้และกระตุ้นการคิดด้วยคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ )
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 -คลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ
                                   จันทร์                                        
ชง
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะตอนที่ 1”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ถ้าเป็นบุคคลในเหตุการณ์ช่วงสร้างทางรถไฟนักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรและจะทำอย่างไร?
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ และตอบคำถาม “ถ้าเป็นบุคคลในเหตุการณ์ช่วงสร้างทางรถไฟนักเรียนมีรู้ความสึกอย่างไรและจะทำอย่างไร?
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจของตนเองลงในสมุด
                                     อังคาร                                     
ชง
- ครูทบทวนกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมา แล้วเปิดคลิปวีดีโอ
พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะตอนที่ 2”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
นักเรียนเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไร/ เหตุการณ์ใดที่สำคัญ /ส่งผล
กระทบอย่างไร และแนวทางการแก้
ปัญหา ?/ ทำไมหนึ่งไม้หมอนต้องหนึ่งชีวิต?
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะ และตอบคำถาม “ทำไมหนึ่งไม้หมอนต้องหนึ่งชีวิต”
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจของตนเองผ่านชาร์ตความรู้และนำเสนอร่วมกัน โดยผ่านเครื่องมือคิด
(
Show and Share)
                                      พุธ                                            
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่อยากเรียนรู้ร่วมกันแล้วครูก็กระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใด
?
เชื่อม
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและช่วยกันตั้งชื่อหน่วยใน Quarter ที่ 4 โดยผ่านเครื่องมือคิด (Think  Pair  Share และ Blackboard  Share)
                                พฤหัสบดี                                      
ใช้
นักเรียนร่วมกันเขียนหัวข้อหน่วยและตกแต่งระบายสีให้สวยงามเพื่อติดหน้าห้องเรียน
                                   ศุกร์                                             
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้ความเข้าใจสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาจากการดูคลิปวีดีโอ
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- สามารถจัดหมวดหมู่ของหัวข้อสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- สามารถเชื่อมโยงความสอดคล้องของเนื้อหาเข้ากับกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคลิปวีดีโอ
พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟสายมรณะได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
- สามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 1
    เนื่องจากพี่ป.4 วางแผนเลือกหน่วยการเรียนรู้ตั้งแต่ Q.3 แต่ครูอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้เหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เลยเลือกที่จะสร้างแรง ด้วยการเปิดคลิปวิดีโอ "พื้นที่ชีวิต-ทางรถไฟายมรณะ" หลังจากที่ดูเสร็จครูให้เด็กแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเด็กๆ ก็ได้สะท้อนออกมาได้ดี เช่น เห็นเชลยศึกที่มาสร้างทางรถไฟอดอาหารและเกิดโรคระบาด เห็นสงครามเกร่งแย่งเพื่อขยายอำนาจ ฯลฯ จากนั้นครูสอบถามความรู้ของนักเรียน "นักเรียนรู้สึกอย่างไร?" นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ความรู้สึกเสียใจ รู้สึกว่าการทำสงครามไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา เกิดความเห็นอกเห็นใจ/สงสาร ฯลฯ ชั่วโมงต่อมา ครูให้นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วย ซึ่งแต่ละชื่อที่ตั้งมาไม่มีความกระชับ ชื่อยาว ไม่ได้ความหมายตรงตัว ไม่น่าสนใจต่อผู้อ่าน สุดท้ายครูกับนักเรียนก็ร่วมตั้งชื่อหน่วยใหม่ ให้เป็นชื่อที่กระชับ ได้ความหมายและน่าสนใจ คือ "ทางรถไสายมรณะ" (จากการชมคลิป)
    ปัญหา เด็กๆ ไม่ได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มากนัก ในการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว จึงเป็นปัญหากับตัวนักเรียนเอง ครูก็เลยเชื่อมโยงจากคลิปวีดีโอที่ผ่านมา ให้นึกจากสิ่งที่ได้ดูไป แล้วสิ่งไหนที่ยังไม่คลี่คลายก็กลายเป็นคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ต่อไป
    วันพฤหัสบดี นักเรียนได้ร่วมกันทำ Mind Mapping ก่อนเรียน ส่วนวันศุกร์พี่ๆ ป.4 มีกิจกรรมเดินทางไกล ทุกคนก็เลยตกลงได้ข้อสรุปว่า เวลาไม่พอจึงนำสรุปสัปดาห์ที่ 1 ไปทำเป็นการบ้านในวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์

    ตอบลบ