ทางรถไฟสายมรณะ

เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "ทางรถไฟสายมรณะ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีผลกระทบต่อสังคมปัจจุบัน
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภราดรภาพและเคารพความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนเคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง

week8


Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
8

2-6
มี..
2558
โจทย์ :
- การเขียนเค้าโครงบทละครทางด้านประวัติศาสตร์
- การฝึกซ้อมบทบาทสมมติผ่านละครทางด้านประวัติศาสตร์
Key  Questions :
- นอการการนำเสนอความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่นักเรียนได้ไปค้นคว้าและทัศนศึกษามาผ่านสื่อสารคดีแล้ว นักเรียนคิดว่าสามารถถ่ายทอดในรูปแบบใดได้อีก ที่สามารถให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวหนังสือ?
- ในละครที่เราจะแสดง ๑ เรื่องจะต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
- การเขียนเค้าโครงบทละคร มีประโยชน์อย่างไรกับการแสดงละครของเรา?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากการไป            ทัศนศึกษานอกเนื่องจากการทำสื่อสารคดี
- Brainstorms  ระดมความและแสดงความคิดร่วมกันในการออกแบบเขียนเค้าโครงบทละครทางด้านประวัติศาสตร์
- Wall  Thinking  เค้าโครงบทละครทางด้าน ประวัติศาสตร์
- Wall Thinking  ชิ้นงาน
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เค้าโครงบทละคร
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนช่วยกันทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นอการการนำเสนอความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่นักเรียนได้ไปค้นคว้าและทัศนศึกษามาผ่านสื่อสารคดีแล้ว นักเรียนคิดว่าสามารถถ่ายทอดในรูปแบบใดได้อีก ที่สามารถให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวหนังสือ?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผ่านเครื่องมือ(Round Rubin)  
- จากการแบ่งกลุ่มในการถ่ายทำสารคดีออกเป็น 4 กลุ่ม  แล้วในสัปดาห์นี้จะเอา 4 กลุ่มดังกล่าว มารวมกันให้เป็น 2 กลุ่ม
ชง :
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในละครที่เราจะแสดง ๑ เรื่องจะต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
- “การเขียนเค้าโครงบทละคร มีประโยชน์อย่างไรกับการแสดงละครของเรา?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่ม
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกย้ายเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ในการเขียนเค้าโครงบทละคร การตั้งชื่อเรื่อง ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิด เสนอแนะ สนทนา ร่วมกันทำเค้าโครงบทละครตามที่ได้รับมอบหมายงาน
อังคาร ( 2 ชั่วโมง )
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเค้าโครงบทละครมานำเสนอแลกเปลี่ยนกัน โดยผ่านเครื่องมือคิด (Show and Share)
- ทบทวนบทละคร/ฝึกซ้อมละคร ตามกลุ่มที่จัดแบ่งไว้

พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้ :
นักเรียนนำเค้าโครงบทละครที่ได้ไปใช้ในการฝึกซ้อม ทบทวนบทบาทสมมติที่ตนเองได้รับ
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง)
ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
หมายเหตุ วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558  เป็นวันหยุดเนื่องในวันมาฆบูชา

ภาระงาน
- ระดมความคิดในการเขียนบทละครทางด้านประวัติ-ศาสตร์
- ฝึกซ้อมบทละครตามเค้าโครงที่ได้ออกแบบ

ชิ้นงาน
- เค้าโครงบทละครทางด้านประวัติ- ศาสตร์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8

ความรู้
นักเรียนสามารถออกแบบการการเขียนเค้าโครงบทละครและฝึกซ้อมละครทางด้านประวัติศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบเขียนบทละครได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
- สามารถสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าผ่านบทละคร
ทักษะการคิด
- สามารถเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาให้เป็นขั้นตอน
- คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลและลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟที่ได้จากการไปทัศนศึกษาผ่านการเขียนเค้าโครงบทละครได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น อย่างไม่มีอคติ เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- สามารถคิดจินตนาการเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้
พบเห็นจากการไปทัศนศึกษาสู่การทำสื่อ เช่น สื่อสารคดี
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2558 เวลา 15:06

    บันทึกหลังการสอน :
    สัปดาห์ที่ 8 เป็นสัปดาห์ที่นักเรียนจะนำความรู้ความเข้าใจตลอดการเรียนรู้ทั้ง 7 Week ที่ผ่านมา มาขมวดเป็นละคร แต่ละคนก็จะได้รับบทบาทสมมติ ตามบทบาทที่ตนเองได้รับ แบ่งนักเรียนออกเป็นสามกลุ่ม (กลุ่มเดียวดันกับกลุ่มตัดต่อในสัปดาห์ที่ 7) ปัญหาที่พบในสัปดาห์นี้ จะพบว่าในบางกลุ่มนั้นยังไม่มีความเข้าใจในเนื้อหาเท่าที่ควร ที่จะนำมาเขียนบท/Story Board จึงทำให้การถ่ายทอดไม่เข้าในทั้งผู้แสดงและผู้ชม ครูจึงให้กลุ่มดังกล่าวไปทบทวนความเข้าใจใหม่อีกรอบ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อเรื่องก่อนการนำเสนอการแสดงอีกรอบ ในการแสดงในกลุ่มที่มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ก็มักจะใช้ความรุนแรงเข้ามาประกอบในการแสดง (ปืนของเล่น อารมณ์ความรุนแรง ท่าทางของการข่มขู่) ครูพี่จึงจำเป็นที่จะต้องแนะนำและชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่จะตามมา (เช่นการบ่มเพาะความรุนแรง) จึงจำเป็นต้องงดการใช้อุปกรณ์ที่เป็นอันตรายทุกประเภทที่สื่อถึงความรุนแรง
    ในการนำเสนอละครนั้นจะให้ระยะเวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ (ตามแผนเดิม) แต่ด้วยเวลาที่กระชั้นชิด จึงจำเป็นที่จะต้องนำสัปดาห์ที่ 9 มารวมเข้ากับสัปดาห์ที่ 8 จึงสรุปว่า การนำเสนอผ่านละครจึงใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 8 เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น

    ตอบลบ